วันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ปิดเว็บไซต์ไม่เหมาสมแล้ว 219 เว็บไม่เหมาะสม

ICTปิดเว็บไซต์ไม่เหมาะสมแล้ว219เว็บ

ปลัดไอซีที เผย ปิดเว็บไซต์เนื้อหาไม่เหมาะสมแล้ว 219 เว็บ ประสาน ปิดเฟซบุ๊ก ไลน์ ยูทูบ ที่เข้าข่ายผิดกฎหมายเป็นรายบัญชี พร้อมตั้ง กก.กำกับดูแลออนไลน์
ทั้งนี้ ได้ตั้ง 3 คณะทำงานเพื่อกำกับดูแลการใช้อินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ ในระดับที่เข้มข้นมากขึ้นประกอบด้วย
1.คณะทำงานด้านการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล มีหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
2.คณะทำงานด้านด้านสืบสวนสอบสวนและปรามปราม มีอำนาจสอบสวน สืบสวน และจับกุม ผู้ที่กระทำผิดนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ผิดกฎหมาย 
3.คณะทำงานอำนวยการ
นอกจากคณะทำงานแล้ว ไอซีที ได้เร่งหารือแนวทางการจัดทำ เนชั่นแนล อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ (National internet gateway) หรือ ช่องทางสำหรับเชื่อมต่อข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่ต่างชนิดกันให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ เพื่อเพิ่มความสามารถในการตรวจสอบและปิดกั้นเนื้อหาบนเว็บไซต์ที่ผิดกฎหมายทำได้ดีขึ้น โดยจะให้บริษัท กสท โทรคมนาคม เป็นตัวหลักในการดำเนินงาน ร่วมกับ บริษัท ทีโอที และจะเรียกผู้ให้บริการที่มีเกตเวย์จากต่างประเทศเข้าร่วมหารือ ซึ่งอาจเห็นเป็นรูปธรรมภายใน 1-2 เดือน
ที่มา.http://news.sanook.com/1600753/

วันเสาร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์


1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
2. ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
3. ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
4. กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม
5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3
6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด
7.สำหรับ แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด
8. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้
9. การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ
10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย
11. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
12. ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ
13. ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่มีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งยังมีอีกหลายประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ดังนั้นจึงควรรู้กฎกติกาการใช้งานไว้ก่อน ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เราเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายได้สามารถคลิกดาวน์โหลดและอ่านฉบับเต็มได้ ที่นี่
ที่มา https://www.marketingoops.com/news/viral-update/computer-law/